วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย
แบดมินตัน นับได้ว่าเป็นกีฬาอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์การเล่นน้อยชิ้น เพียงแค่มีไม้แร็คเกตและลูกขนไก่ รวมถึงผู้เล่นเพียง 2 คน ก็สามารถเล่นได้แล้ว อีกทั้งยังเป็นกีฬาสบาย ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเหตุใดผู้คนการเล่นแบดมินตันจึงแพร่หลายไปสู่คนทั่วโลกจนกระทั่งได้กลายเป็นกีฬาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ และวันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาแบดมินตันมาฝาก


         การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมีตาข่ายโดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้านซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรีแล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูลวังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคนปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี)ชนะเลิศทุกประเภทนอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ
          ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า"สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือสโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดีสโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสรคือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกันสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วยสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มากและจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคลซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและชายคู่มาแล้ว
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย

          ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันใน ประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็กผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษามีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เองมีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐานมีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลามีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐานมีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการมีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิงภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็งเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน

กติกาของกีฬาแบดมินตันเบื้องต้น


1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแตกต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
3. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
4. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
5. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
6. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
7. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
8. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
9. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา (Over net)




ระบบการนับคะแนน
1  แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
2  ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ในประเภทหญิง2-3  เดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
4  ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน
5  ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนน
6  ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้น หรือ
7  เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
8  ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป








สนามและอุปกรณ์

1 สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร
2  เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
3
  เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
4
  เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงโดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
5
  เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
6
  ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
7
  ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
8
  ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
9
  เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
10
  สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
11
  ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา



จุดประสงค์
 1  ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ แขน ขา และ สาตา   
 2 เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกายที่ดี สมรรถภาพทางร่างกายดังกล่าว คือความแข็งแรง ความอดทน การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น จึงทำให้ผู้เล่นมีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ถ้าเล่นแบดมินตันเพื่อความอดทน จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้สูงขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วยแบดมินตันมีวิธีการตีลูกหลายแบบ จึงมีเทคนิคเล่นมากมายที่ทำให้ได้ การฝึกฝนการใช้สติปัญญาอยู่ตลอดเวลาเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบ และการส่อหลอกประกอบกัน จึงกล่าวได้ว่าการเล่นแบดมินตัน
3  เป็นการทำสงครามด้วยความฉลาด เพราะการเล่นมีการรุก รับตลอดเวลาช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม ตามหลักจิตวิทยาแล้วแบดมินตันยังช่วยเสริมสร้างและรักษาจิตใจได้อีกด้วย จิตแพทย์คาร์ล เมนนินเยอร์(Dr.Karl Menninger)หัวหน้าหน่วยงานTopekaซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก ได้แนะนำให้ใช้กีฬาแบดมินตันเป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับคนไข้ที่ผิดปกติทางอารมณ์ และไม่ใช่แต่จะทำให้สุขภาพจิตของคนป่วยดีขึ้นเท่านั้นคนปกติก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
4  เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์ มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะได้รับประโยชน์เท่า ๆ กัน
5  เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ



 

บทสัมภาษณ์
สัมภาษณ์ อาจารย์สไว  สังขารา
อายุ  55  ปี  อาชีพ รับราชการ  ครู
อาจารย์นันทนาการ  ฝ่ายพละ แบดมินตัน
มหาวิทยาลัยรังสิต