ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย
แบดมินตัน นับได้ว่าเป็นกีฬาอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์การเล่นน้อยชิ้น เพียงแค่มีไม้แร็คเกตและลูกขนไก่ รวมถึงผู้เล่นเพียง 2 คน ก็สามารถเล่นได้แล้ว อีกทั้งยังเป็นกีฬาสบาย ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไปดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเหตุใดผู้คนการเล่นแบดมินตันจึงแพร่หลายไปสู่คนทั่วโลกจนกระทั่งได้กลายเป็นกีฬาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ และวันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาแบดมินตันมาฝาก
การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมีตาข่ายโดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้านซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรีแล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูลวังเจ้านาย และในราชสำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหมได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกโดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคนปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบางขวางนนทบุรี)ชนะเลิศทุกประเภทนอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ
ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า"สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือสโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดีสโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสรคือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกันสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วยสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มากและจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขันออลอิงแลนด์ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคลซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและชายคู่มาแล้ว
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันใน ประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็กผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษามีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เองมีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐานมีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลามีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐานมีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการมีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิงภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็งเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน
วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันใน ประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็กผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษามีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มีอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เองมีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐานมีผู้ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ทำงานเต็มเวลามีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐานมีรายการแข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการมีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิงภายใต้การทำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็งเชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้นำในกีฬาแบดมินตันของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน
กติกาของกีฬาแบดมินตันเบื้องต้น
1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแตกต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
3. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
4. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
5. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
6. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
7. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
8. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
9. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา (Over net)
ระบบการนับคะแนน
1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น
2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ในประเภทหญิง2-3 เดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน
5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนน
6 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้น หรือ
7 เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
8 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ในประเภทหญิง2-3 เดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม ฝ่ายที่ได้ 11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น
4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน
5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว หญิงคู่ คู่ผสม) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนน
6 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้น หรือ
7 เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
8 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
สนามและอุปกรณ์
2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงโดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้ จนกระทั่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
จุดประสงค์
1 ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ แขน ขา และ สาตา
2 เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกายที่ดี สมรรถภาพทางร่างกายดังกล่าว คือความแข็งแรง ความอดทน การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น จึงทำให้ผู้เล่นมีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ถ้าเล่นแบดมินตันเพื่อความอดทน จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้สูงขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วยแบดมินตันมีวิธีการตีลูกหลายแบบ จึงมีเทคนิคเล่นมากมายที่ทำให้ได้ การฝึกฝนการใช้สติปัญญาอยู่ตลอดเวลาเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความฉลาด ไหวพริบ และการส่อหลอกประกอบกัน จึงกล่าวได้ว่าการเล่นแบดมินตัน
3 เป็นการทำสงครามด้วยความฉลาด เพราะการเล่นมีการรุก – รับตลอดเวลาช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม ตามหลักจิตวิทยาแล้วแบดมินตันยังช่วยเสริมสร้างและรักษาจิตใจได้อีกด้วย จิตแพทย์คาร์ล เมนนินเยอร์(Dr.Karl Menninger)หัวหน้าหน่วยงานTopekaซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก ได้แนะนำให้ใช้กีฬาแบดมินตันเป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับคนไข้ที่ผิดปกติทางอารมณ์ และไม่ใช่แต่จะทำให้สุขภาพจิตของคนป่วยดีขึ้นเท่านั้นคนปกติก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
4 เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์ มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะได้รับประโยชน์เท่า ๆ กัน
5 เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ
บทสัมภาษณ์
สัมภาษณ์ อาจารย์สไว สังขารา
อายุ 55 ปี อาชีพ รับราชการ ครู
อาจารย์นันทนาการ ฝ่ายพละ แบดมินตัน
มหาวิทยาลัยรังสิต
สัมภาษณ์ อาจารย์สไว สังขารา
อายุ 55 ปี อาชีพ รับราชการ ครู
อาจารย์นันทนาการ ฝ่ายพละ แบดมินตัน
มหาวิทยาลัยรังสิต
ในตัวหนังสือที่มีกรอบสีขาว เนื้อหามันไม่ครบครับ เช่น 2.การเสิร์ลูกตามกติกาที่ถูกต้อง คือ
ตอบลบมีแค่นี้ ไม่รู้ด้วยว่าตคืออะไร (มีไม่ครบเยอะด้วยครับ)